ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร ไม่ให้เกิดแผลกดทับ
ผู้ป่วยติดเตียงเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นเรื่อยๆในประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยติดเตียงที่เกิดจากโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย การเจ็บป่วยฉับพลัน หรือการได้รับอุบัติเหตุใหญ่ เป็นต้น ในประเทศไทยเรามีปัญหานี้สูงมากขึ้นถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งการดูแลผู้ป่วยติดเตียงนี้มีความสำคัญมากในแง่ของการป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากเป็นผู้ป่วยติดเตียง
ผู้ป่วยติดเตียง คืออะไร ?
ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง จนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง และไม่สามารถลุกนั่งหรือลุกเดินได้ตามปกติ ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่บนเตียงตลอดเวลา ในปัจจุบันผู้ป่วยติดเตียงถือว่ามีหลายประเภท ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ไปจนถึง ผู้สูงอายุติดเตียง ส่วนของสาเหตุที่ทำให้เป็นผู้ป่วยติดเตียง ก็มาจากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากโรคต่างๆ เช่น หลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย นอกจากนี้ผู้ที่ผ่านการประสบอุบัติเหตุ ผ่านการผ่าตัดใหญ่ ก็มีโอกาสเป็นผู้ป่วยติดเตียงได้เช่นเดียวกัน
ผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท ?
ปัจจุบันผู้ป่วยติดเตียงถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม และแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ โดยประเภทผู้ป่วยติดเตียงจะแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
1.ผู้ป่วยติดเตียงระดับสีเขียว
เป็นผู้ป่วยติดเตียงระดับแรก อยู่ในระยะเริ่มต้นไปถึงปานกลาง จัดว่าเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้มีอาการหนักมากนัก เพราะยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้าง ดูแลตัวเองได้บ้าง สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้เองหลายอย่าง ผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มนี้ก็อาจมีภาวะทางสมอง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่ต้องได้รับการดูแลและฟื้นฟูอย่างถูกต้อง และติดตามอย่างสม่ำเสมอ การดูแลผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มนี้อาจไม่จำเป็นต้องรับช่วยเหลือจากบุคลากรทางการแพทย์หรือพยาบาลมากนัก แต่ถึงอย่างนั้นผู้ป่วยต้องได้รับการฟื้นฟูทางด้านกายภาพเพื่อให้ร่างกายกลับมาฟื้นตัว
2.ผู้ป่วยติดเตียงระดับสีเหลือง
เป็นผู้ป่วยติดเตียงที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีภาวะอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ หรืออาจจะเคลื่อนไหวร่างกายได้บ้างบางส่วน ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีภาวะอาการอัมพฤกษ์ ร่างกายอยู่ในภาวะถอดถอยลง มีภาวะเจ็บป่วยฉับพลัน หรือเกิดจากอุบัติเหตุขนาดใหญ่ จึงจำเป็นต้องนอนติดเตียงเป็นเวลานานๆ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและทางเดินอาหาร ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มนี้จึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อ และเพื่อดูแลรักษาสุขภาพให้ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
3.ผู้ป่วยติดเตียงระดับสีแดง
ผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มนี้ คือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกาย ไม่สามารถพลิกตัว หรือไม่สามารถลุกขึ้นนั่งเองได้ อีกทั้งยังไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกาย ในบางครั้งพอรู้สึกตัว บางครั้งไม่รู้สึกตัว จัดว่าเป็นผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางร่างกายขั้นรุนแรง ต้องนอนอยู่บนเตียงผู้ป่วยโดยตลอด อาจร่วมถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์ทางแพทย์ เช่น ให้อาหารทางสาย เจาะคอ ต้องดูดเสมหะ หรือถึงขั้นให้ออกซิเจน เพื่อรักษาสภาพร่างกายและอาการที่มีอยู่ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยติดเตียงกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลทั้งจากผู้ดูแล จากบุคลากรทางการแพทย์และการพยาบาลอย่างใกล้ชิด
ทำไมต้องป้องกันแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง
แม้ว่าแผลกดทับจะไม่ทำให้ผู้ป่วยเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิต แต่ก็ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม สำหรับอันตรายที่เกิดขึ้นจากแผลกดทับจะเป็นเรื่องของการติดเชื้อ โดยเฉพาะเมื่อแผลถูกเปิด หรือมีบาดแผลอื่นๆ ในพื้นที่เดียวกัน ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการติดเชื้อร้ายแรง อีกทั้งทำให้แผลลุกลามไปยังบริเวณอื่นๆ ในร่างกาย มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยเรื้อรังที่นอนติดเตียงเป็นเวลานาน รวมไปถึงผู้ป่วยที่มีภาวะทางความพิการต่างๆ
ดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างไร ไม่ให้เกิดแผลกดทับ
1.เปลี่ยนท่าหรือการจัดท่าทางของผู้ป่วยบ่อยๆ
เปลี่ยนท่าหรือการจัดท่าทางให้กับผู้ป่วยบ่อยๆ เป็นหนึ่งในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ เนื่องจากการเปลี่ยนท่าและการจัดท่าทางให้กับผู้ป่วยติดเตียงจะช่วยลดแรงกดทับ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้การเปลี่ยนท่าและการจัดท่าทางให้กับผู้ป่วยติดเตียงยังช่วยลดความเจ็บปวด ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ป่วย ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนท่าหรือการจัดท่าทางให้กับผู้ป่วยอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อครั้ง หรือตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ
2.ดูแลผิวหนังผู้ป่วยติดเตียงให้สะอาดและแห้ง
ความชื้นจะทำให้ผิวหนังของผู้ป่วยเกิดความอ่อนแอ และเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ดังนั้นผู้ดูแลจำเป็นที่จะต้องดูแลผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ โดยสามารถทำได้ด้วยการใช้ผ้าขนหนูเช็ดน้ำเช็ดบริเวณที่มีความชื้นบ่อยๆ และควรเปลี่ยนผ้าเช็ดตัว รวมไปถึงเสื้อผ้าที่มีความชื้นเป็นประจำ เพื่อป้องกันการสะสมของความชื้นและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.ใช้หมอนและเบาะรองนั่ง
การใช้หมอนและเบาะรองนั่งเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยที่มีภาวะการเคลื่อนไหวน้อย หรือมีภาวะโรคเบาหวานที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้ง่าย โดยการใช้หมอนควรใช้แบบที่มีความอ่อนนุ่ม เพราะช่วยลดแรงกดทับบนส่วนที่มีน้ำหนักมากได้ ส่วนเบาะรองนั่ง ควรใช้แบบที่มีฟองอากาศหรือเม็ดพลาสติก เพราะจะช่วยกระจายน้ำหนักตัวให้เท่ากันได้
4.ตรวจสอบรอยแดงบนผิวหนัง
การตรวจสอบรอยแดงบนผิวหนังของผู้ป่วยเป็นประจำ จะช่วยให้ผู้ดูแลหาสัญญาณของรอยแดง ที่เป็นสัญญาณเริ่มต้นของแผลกดทับได้ โดยเมื่อสังเกตเห็นรอยแดงบนตัวของผู้ป่วย ให้ผู้ดูแลสามารถดำเนินการเกี่ยวกับการลดแรงกดทับทันที เพราะการลดแรงกดทับจะช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
5. ให้ผู้ป่วยทานอาหารและเรื่องโภชนาการที่มีประโยชน์
การบำรุงสุขภาพร่างกายให้กับผู้ป่วย ด้วยการให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีโภชนาการที่ครบถ้วน ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ เป็นหนึ่งในการดูแลป้องกันแผลกดทับที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดแผลกดทับแล้ว ยังช่วยให้การไหลเวียนโลหิต และสุขภาพผิวหนังของผู้ป่วยดีขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้การดูแลผู้ป่วยติดเตียงนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนทั่วไป และอาจทำให้ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงเป็นเวลานาน ๆ เกิดความเครียดได้ ดังนั้นหากให้ผู้ป่วยได้อยู่ในความดูแลของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีความชำนาญและมีประสิทธิภาพ ก็จะมั่นใจได้ว่าผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และถูกต้องตามหลักการดูแลผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างแน่นอน
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เดอะซีเนียร์ ซึ่งมีประสบการ์ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงมากกว่า 25 ปี อีกทั้งยังมีทีมพยาบาลวิชาชีพ พร้อมทีมงานผู้ช่วยทางการพยาบาลที่มีความชำนาญในการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยติดเตียงโดยเฉพาะ ผู้ป่วยจึงได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง และการฟื้นฟูร่างกายครอบคลุมทุกด้านอย่างครบถ้วน ทั้งการด้านทางการแพทย์และการพยาบาลอย่างใกล้ชิด เพราะที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เดอะ ซีเนียร์ มีเครื่องมือและอุปกรณ์กายภาพบำบัดที่มีคุณภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้กับทุกส่วนของร่างกาย ภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญด้วยเหตุนี้ เดอะ ซีเนียร์ จึงเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ส่งผลดีกับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก และยังช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุอีกด้วย
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของ โรงพยาบาลผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม เดอะซีเนียร์ ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior