วิธีดูแลป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัยที่เนอร์สซิ่งโฮมแนะนำ
เนอร์สซิ่งโฮมตัวเลือกที่ตอบโจทย์การดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี
เมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ การเตรียมตัวหาศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮมต่าง ๆ ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไร หากเทียบกับสมัยก่อน เพราะปัจจุบัน ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง โรงพยาบาลที่รับดูแลผู้สูงอายุ ได้พัฒนาไปอย่างมาก ทั้งความสะดวกสบาย การเพิ่มกิจกรรมต่าง ๆ ลงไปในแผนการดูแล บวกกับเวชศาสตร์ต่าง ๆ ที่ได้มีการพัฒนา เรียกว่า อาจจะดีกว่าปล่อยให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านก็ได้
หนึ่งในปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุ คือ เรื่องของแผลกดทับ แผลกดทับสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่เฉพาะในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดและติดเตียงเท่านั้น ในผู้สูงอายุที่อายุมาก ๆ หรือมีอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้ายร่วมด้วย การดูแลไม่ให้เกิดแผลกดทับนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากเกิดแผลกดทับ และดูแลไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ขึ้นได้ การพลิกตัวผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียงอย่างช้า ๆ ทุก ๆ 2 ชั่วโมง จึงเป็นงานที่ไม่สามารถลาหยุดได้ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุหรือเนอร์สซิ่งโฮม จึงเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
อาการของแผลกดทับ
สำหรับอวัยวะที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับนั้น มักจะเป็นบริเวณที่ไม่มีไขมันและต้องรับแรงกดท้บโดยตรง ในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวร่างกายเองไม่ได้ และต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เช่น ที่ไหล่ ข้อศอก ท้ายทอย ข้างใบหู เข่า ข้อเท้า ส้นเท้า กระดูกสันหลัง หรือกระดูกก้นกบ
โดยผู้ป่วยจะเกิดอาการหลายอย่าง อาทิ สีหรือลักษณะของผิวหนังเกิดความผิดปกติ มีอาการบวมหนองไหลออกมา มีอาการอุ่นหรือเย็นตรงผิวหนังที่เกิดแผลกดทับ และมักจะกดแล้วเจ็บบริเวณที่เป็นแผลกดทับ ซึ่งอาการของแผลกดทับสามารถแบ่งออกเป็นระยะต่าง ๆ ได้
อาการแผลกดทับที่แบ่งตามระยะ
- ระยะที่ 1 – แผลกดทับจะไม่เปิดออก จะมีลักษณะอุ่น ๆ นุ่มหรือแข็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ ระคายเคืองบริเวณนั้น ผิวหนังบริเวณแผลจะไม่มีสี ในผู้ป่วยที่มีผิวขาว อาจเกิดรอยแดง ส่วนผู้ป่วยที่มีผิวเข้ม จะมีรอยเขียว ๆ อมม่วง และเมื่อกดลงไปตรงบริเวณนั้น จะไม่กลายเป็นสีขาว
- ระยะที่ 2 – จะเป็นระยะที่แผลเปิด หรือมีตุ่มน้ำพอง เกิดจากการที่หนังกำพร้าบางส่วนและหนังแท้ถูกทำลาย ส่งผลให้ผิวหนังหลุดลอก ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บที่แผลมากกว่าระยะที่ 1
- ระยะที่ 3 – แผลจะเริ่มเป็นโพรงลึก และอาจเห็นไขมันที่แผล เนื่องจากผิวหนังทั้งหมดหลุดออกมาและเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนังถูกทำลาย
- ระยะที่ 4 – เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด โดยผิวหนังถูกทำลายทั้งหมด รวมถึงเนื้อเยื่อที่อยู่ล้อมรอบเริ่มตาย หรือที่เรียกว่าเนื้อเยื้อต่ายเฉพาะส่วน และกล้ามเนื้อ กระดูกที่อยู่ลึกลงไป อาจถูกทำลายด้วยเช่นกัน
การรักษาแผลกดทับ
วิธีรักษาแผลกดทับจะต้องดูว่าแผลกดทับที่ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเป็นอยู่นั้นอยู่ในระยะไหน หากเป็นระยะที่ 1-2 จะสามารถหายได้หากได้รับการดูแลที่ถูกต้อง แต่หากเป็นระยที่ 3 และ 4 ระยะเวลาในการรักษาจะนานกว่า 2 ระยะแรก วิธีการรักษาแผลกดทับโดยแบ่งตามอาการของโรค
- การลดแรงกดทับ การลดแรงกดทับ เป็นวิธีรักษาแผลกดทับเบื้องต้น โดยลดการกดทับอวัยวะที่เกิดภาวะดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับที่มากขึ้น และเพื่อช่วยลดการเสียดสีของผิวหนัง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีการเหล่านี้
- เปลี่ยนหรือขยับร่างกายบ่อยๆ
- ผู้สูงอายุที่ต้องนั่งรถเข็น ให้ขยับร่างกายทุก ๆ 15 นาที
- ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ต้องนอนบนเตียง ให้เปลี่ยนท่านอนทุก ๆ 2 ชั่วโมง
- การดูแลแผล วิธีการดูแลแผลกดทับ อันดับแรกคือ ตรวจดูว่าแผลกดทับที่เป็นนี้ แผลมีความลึกมากน้อยแค่ไหน โดยทั่วไปแผลกดทับ สามารถดูแลรักษาได้ดังนี้
- หากผิวหนังที่เกิดแผลกดทับไม่เปิดออก หรือเป็นแผลปิด ให้ล้างแผลด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอ่อน ๆ และเช็ดให้แห้ง
- หากเป็นแผลเปิด ให้ล้างด้วยน้ำเกลือสำหรับล้างแผลทุกครั้งเมื่อต้องทำแผล
- พันแผล เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น การพันแผลจะช่วยให้แผลชุ่มชื้นขึ้น และยังช่วยลดการเสียดสีที่ผิวหนัง
วิธีการรักษาแผลเนื้อเยื่อที่ตาย
หากแผลเป็นเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ปกติการจะรักษาแผลกดทับให้ได้ผลและหายดีนั้น แผลต้องไม่เกิดการติดเชื้อ หรือเป็นเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่เป็นแผลกดทับแบบเนื้อเยื่อตาย จะมีวิธีการรักษาดังนี้
- การผ่าตัดเนื้อเยื่อตาย – แพทย์จะทำความสะอาดแผล และตัดเนื้อเยื่อที่ตายออกไป
- ให้ยาปฎิชีวนะ – ผู้ป่วยจะได้รับยาปฎิชีวนะ เพื่อรักษาอาการติดเชื้อและป้องกันไม่ให้เกิดการลุกลาม
- ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งทารักษาอาการ – การทาครีมหรือขี้ผึ้ง จะช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น และป้องกันเนื้อเยื่อบริเวณอื่นๆ ถูกทำลาย
- การดูแลอื่นๆ – ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษาจากผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาวิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ และศัลยแพทย์ตกแต่ง
การดูแลอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยแผลกดทับจะได้รับเพื่อบรรเทาอาการ
- การให้ยาแก้ปวดเฉพาะที่ โดยยาแก้ปวดเฉพาะที่จะไม่มีการผสมสเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน หรือนาพรอกเซน
- อาหารเสริม โดยแพทย์จะให้อาหารเสริมอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โปรตีน สังกะสี วิตามิน เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- การผ่าตัด ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับ และรักษาแผลแล้วแต่ไม่หาย จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด นำส่วนกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของตัวเอง มาปิดแผลและใส่รองกระดูกที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- ทราบหรือไม่ว่า ในผู้สูงอายุที่มีอาการแผลกดทับอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ด้วย โดยภาวะแทรกซ้อนหากรุนแรงมาก อาจทำให้เสียชีวิตได้เลย โดยภาวะแทรกซ้อน เช่น เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ ติดเชื้อในกระเเสเลือด ติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ เนื้อเน่า หนังเน่า และเป็นมะเร็งบางชนิด
- เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ – ผิวหนังและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวกับพัน เกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้บริเวณดังกล่าวอุ่น มีรอยแดงและบวม ผู้ป่วยที่มีเส้นประสาทถูกทำลายจะไม่รู้สึกเจ็บปวด บริเวณที่เซลล์เนื้อเยื่อเกิดการอักเสบ ผู้ที่ไม่เข้ารับการรักษา มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อได้
- ติดเชื้อในกระแสเลือด – ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ จะมีแผลกดทับที่ติดเชื้อ และมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยในภาวะนี้จะทำลายอวัยวะต่าง ๆ และส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำมาก จนถึงขั้นเสี่ยงต่อชีวิต โดยผู้ป่วยจะตัวเย็น และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้ร่างกายกลับมาทำงานปกติ
- ติดเชื้อที่กระดูกและข้อต่อ – แผลกดทับที่ติดเชื้อ อาจจะลุกลามลงไปที่ข้อต่อ หรือกระดูก เรียกว่า ภาวะข้ออักเสบติดเชื้อ และภาวะกระดูกอักเสบ ภาวะนี้จะทำลายกระดูกอ่อนและเนื้อเยี่อ ผู้ป่วยต้องได้รับยาปฎิชีวนะ หรือเข้ารับการผ่าตัด เพื่อนำกระดูกหรือข้อต่อที่ติดเชื้อออกไป ในกรณีที่ติดเชื้อรุนแรง
- เนื้อเน่า – หรือเรียกอีกอย่างว่า แบคทีเรึยกินเนื้อคน ถือว่าเป็นภาวะติดเชื้อผิวหนังรุนแรง โดย อาการติดเชื้อนั้น ลึกลงไปถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อตายอย่างรวดเร็ว ภาวะนี้เกิดจากการที่เนื้อเยื่อจากแผลกดทับ ติดเชื้อจากแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อสเตรปโตค็อกคัส กลุ่ม เอ (Group A Streptococci) ผู้ป่วยต้องได้รับยาปฎิชีวนะหรือเข้ารับการผ่าตัด
- เนื้อเน่าแบบมีก๊าซ – โรคนี้คือการติดเชื้อรุนแรง ที่อาจพบได้ไม่บ่อยนัก โดยจะเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า คลอสตริเดียม (Clostridium) ซึ่งอยู่ในที่ ๆ มีออกซิเจนน้อยมาก ๆ โดยแบคทีเรียตัวนี้ จะผลิตก๊าซและปล่อยสารพิษออกมา ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการบวมและเจ็บแผลอย่างรุนแรง ผู้ป่วยที่มีอาการเนื้อเน่าต้องรับการผ่าตัด หากอาการรุนแรงมาก อาจต้องตัดอวัยวะดังกล่าว เพื่อป้องกันการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ
- มะเร็งบางชนิด – ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีแผลกดทับ และไม่ได้ทำการรักษาแผลเลย อาจทำให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังได้
5 วิธีป้องกันการเกิดแผลกดทับ
- การเปลี่ยนท่าและจัดท่า
การเปลี่ยนท่าหรือจัดท่าให้ผู้สูงอายุ ขั้นแรกให้ประเมินความสามารถในการขยับตัวของผู้สูงอายุ ก่อนว่า สามารถเคลื่อนไหวได้มากน้อยแค่ไหน- ติดเตียง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลย – ให้เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง เช่น จากนอนหงาย ให้พลิกตัวผู้สูงอายุมาเป็นนอนตะแคง และให้หาหมอนข้างนิ่ม ๆ มากั้น และให้ใช้หมอนนิ่มใบเล็ก แทรกระหว่างปุ่มกระดูกที่อาจเกิดการกดทับ
- นั่งรถเข็น – ให้เปลี่นนท่านั่งทุก 1 ชั่วโมง
- กรณีผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
ทั้งผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย และมีภาวะโรคประจำตัวเยอะ ขาดสารอาหารด้วย และรวมถึงมีปุ่มกระดูกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งการเกิดแผลกดทับ ให้เลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เช่น หมอนนิ่ม ๆ หรือเตียงลมที่มีคุณภาพ และเจลรองตำแหน่งกดทับ - การป้องกันภาวะผิวหนังแห้ง หรืออับชื้นมากเกินไป
กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะ หรืออุจจาระได้ แต่ยังสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ให้จัดตารางการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา รวมถึงการใช้ครีมมาผิว เพื่อลดอาการระคายเคือง หลังจากการขับถ่าย เช่น ทาโลชั่นทุกครั้งหลังอาบน้ำ - การดูแลเรื่องโภชนาการ
เรื่องอาหารการกินเป็นอีกเรื่องที่ควรใส่ใจอย่างยิ่ง เพราะหากผู้สูงอายุได้รับอาหารตามหลักโภชนาการที่ถูกต้องแล้ว จะช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพภายในไปได้ การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน จากผักและผลไม้ที่มีกากใย โภชนาการที่ดี นอกจากสุขภาพของผู้สูงอายุจะดีด้วยแล้ว จะทำให้แผลตามร่างกายนั้น หายเร็วขึ้นอีกด้วย - คอยตรวจดูอาการผิดปกติ
หมั่นตรวจดูอาการผิดปกติ ตามผิวหนัง หรือบริเวณที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ หากตรวจพบสีของผิวหนังเปลี่ยนเป็น สีแดง ม่วง หรือดูแล้วมีลักษณะการอักเสบ กดแล้วเจ็บ หรือเปลี่ยนเป็นสีดำ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา ป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อน หรือป้องกันไม่ให้เกิดแผลรุนแรงจนถึงขั้นต้องผ่าตัด
หากคุณผู้อ่านกำลังมองหา ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีอาการอัลไซเมอร์ระยะสุดท้าย ศูนย์ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ศูนย์ดูแลหลังการผ่าตัด ศูนย์ดูแลอาการปวดหลังร้าวลงขา ศูนย์ทำกายภาพปวดหลัง
เนอร์สซิ่งโฮม โรงพยาบาลที่รับดูแลผู้สูงอายุ มาปรึกษาได้ที่ The Senior Health Care โรงพยาบาลผู้สูงอายุเดอะซีเนียร์ ศูนย์ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองและเวชศาสตร์ฟื้นฟู พรีเมี่ยมเนอสซิ่งโฮม ด้วยประสบการณ์กว่า 27 ปีที่ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแล ให้คำปรึกษา และช่วยเหลือครอบครัวของผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ฯลฯ ด้วยจำนวนเตียงกว่า 200 เตียง รวมถึงทีมแพทย์ พยาบาล และนักกายภาพบำบัด ที่มีประสบการณ์
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมของ โรงพยาบาลผู้สูงอายุ เนอร์สซิ่งโฮม เดอะซีเนียร์ ได้ที่
โทร : 090-885-2985, 094-498-1115, 02-001-4452
LINE OFFICIAL : @thesenior